ในอาคารขนาดใหญ่ มักใช้ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ และมีเครื่องทำน้ำเย็นส่งจ่ายน้ำเย็นไปยังส่วนต่างๆ ของอาคาร ประเภทของเครื่องทำน้ำเย็น (Chiller) มีอยู่ 2 ประเภทคือ
• Air Cooled Water Chiller เป็นเครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
• Water Cooled Water Chiller เป็นเครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ




Air Cooled Water Chiller

คือ เครื่องทำน้ำเย็นที่อาศัยการระบายความร้อนด้วยอากาศ ลักษณะการใช้งานที่มีความต้องการความเย็นไม่มากนัก (มักจะไม่เกิน 500 ตันความเย็น) ซึ่งต้องการ ความสะดวกในการติดตั้ง และต้องการลดภาระการดูแลรักษา หรือจะใช้ในโครงการที่ขาดน้ำ หรือไม่มีน้ำที่มีคุณภาพพอจะมาใช้ระบายความร้อนของเครื่องได้ อย่างไรก็ตาม เครื่องที่ระบายความร้อนด้วยอากาศก็ย่อม ที่จะกินไฟมากกว่า เครื่องที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ การใช้ไฟฟ้าประมาณ 1.0-1.2 กิโลวัตต์ต่อตันความเย็น
Water Cooled Water Chiller
คือ ใช้น้ำระบายความร้อน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการปรับอากาศที่ขนาดใหญ่ มีจำนวนห้องที่จำเป็นต้องปรับอากาศหลายห้อง หลายโซน หรือหลายชั้น มีอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ หอผึ่งน้ำ โดยทั่วไป มีการใช้ไฟฟ้าประมาณ 0.5-0.6 กิโลวัตต์ต่อตันความเย็น ปัจจุบันเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพเรื่องทำน้ำเย็นด้วยน้ำ มีการปรับปรุงให้ประหยัดพลังงานขึ้นอย่างมาก 2 แนวทาง คือ เครื่องทำน้ำเย็นแบบปรับความเร็วรอบ (Variable speed Chiller) ซึ่งมีสมรรถนะขณะภาระต่ำดีมาก และเครื่องทำน้ำเย็นแบบแบริ่งแม่เหล็ก (Magnetic Bearing) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากไม่มีแบริ่งใช้สนามแม่เหล็กยกเพลาให้ลอยขึ้น ทำให้สามารถลดความเสียดทานของแบริ่ง และไม่ใช้น้ำมันในการระบายความร้อน เครื่องทำน้ำเย็นทั้งสองแบบดังกล่าว ค่าสมรรถนะอยู่ในช่วง 0.3-0.4 kW/ton ซึ่งความสิ้นเปลืองต่ำกว่าแบบปกติเกือบเท่าตัว