1. เงื่อนไขด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า พิจารณาจากค่า MEA Index เมื่อคำนวณหาค่า MEA Index ของแต่ละอาคาร ตามประเภทอาคาร ได้แล้วจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหากราฟการแจกแจงของอาคารประเภทนั้นๆ.
การกำหนดค่าเกณฑ์ของค่า MEA Index ว่าเป็นที่ % เท่าใดนั้นขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการ หากอาคารมีค่า MEA Index ไม่เกินที่กำหนดแล้วก็จะต้องมาพิจารณาเงื่อนไขที่ 2 เป็นลำดับถัดมา
2. เงื่อนไขด้านคุณภาพการใช้พลังงาน เนื่องด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการมีความเห็นว่าแม้อาคารจะมีค่า MEA Index ผ่านเกณฑ์ที่ กฟน. แล้วก็ควรต้องมีการใช้พลังงานที่มีคุณภาพที่ดีต่อผู้ใช้งานด้วย โดยพิจารณาคุณภาพการใช้พลังงานจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคาร ค่าความส่องสว่างในแต่ละพื้นที่หรือกิจกรรม และอุณหภูมิและความชื้นของอากาศภายในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้โครงการจะมีทีมงานเข้าทำการตรวจวัดค่าด้านคุณภาพการใช้พลังงาน ณ อาคารจริง เพื่อนำมาประกอบการตัดสิน
- ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคาร ไม่เกิน 1,000 ppm (อ้างอิงจาก ASHREA-62)
- อุณหภูมิและความชื้น (อ้างอิง ASHRAE 55-2010)
หมายเหตุ ค่าอุณหภูมิและความชื้นพิจารณาประกอบเป็นแนวทางตามความเหมาะสมของประเทศไทย
- ค่าความส่องสว่าง (อ้างอิงสมาคมไฟฟ้าแสงสว่าง)
ระดับที่ 2 เพื่อมอบตราสัญลักษณ์ "กฟน. อาคารประหยัดพลังงานดีเด่น"
อาคารที่จะมีสิทธิขอรับตราสัญลักษณ์ MEA Energy Saving Building ระดับที่ 2 นั้นต้องเป็นอาคารที่เข้าร่วมโครงการและได้รับตราสัญลักษณ์ ระดับที่ 1 มาแล้วเท่านั้น โดยอาคารจะต้องมีการดำเนินการปรับปรุงการใช้พลังงานและสามารถตรวจวัดผลประหยัดได้ภายในช่วงระยะเวลาของโครงการ นอกจากนี้จะมีการเข้าตรวจประเมิน ณ อาคาร เพื่อให้คะแนนจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการ ใน 4 ประเด็นต่อไปนี้
อาคารที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุดในแต่ละประเภทอาคาร อันดับที่ 1 จะได้รับเงินรางวัลพร้อมตราสัญลักษณ์ “กฟน.อาคารประหยัดพลังงาน ดีเลิศ” และอันดับที่ 2 จะได้รับเงินรางวัลพร้อมตราสัญลักษณ์ “กฟน.อาคารประหยัดพลังงาน ดีเด่นพิเศษ” ส่วนอาคารที่เหลือและผ่านเกณฑ์การพิจารณาจะได้รับตราสัญลักษณ์ “กฟน.อาคารประหยัดพลังงาน ดีเด่น”