การจัดประกวดอาคาร MEA Energy Saving Building นับเป็นการดำเนินงานของ “ โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร” โดยการไฟฟ้านครหลวง ( กฟน.) ได้จัดการประกวดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ภายใต้ชื่อ MEA Energy Saving Building 2015 สำหรับ กลุ่มอาคารมหาวิทยาลัยและอาคารศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณที่ค่อนข้างมาก
โครงการในปีที่ 3 ได้เริ่มดำเนินการเปิดรับสมัครอาคารเข้าร่วมแข่งขันในเดือนปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 และดำเนินการประกวดอาคารทั้งในระดับที่ 1 และในระดับที่ 2 ต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม 2558 ทั้งนี้ การไฟฟ้านครหลวงได้พิจารณาให้จัดการประกวดในประเภทอาคารมหาวิทยาลัยและอาคารศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า ที่ตั้งอยู่ในเขตให้บริการของ กฟน. มีอาคารสมัครเข้าร่วมโครงการปีที่ 3 ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย จำนวน 12 แห่ง และศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า จำนวน 22 แห่ง จำนวนรวมทั้งสิ้น 34 แห่ง

 

ผลการพิจารณาระดับที่ 1 “ตราสัญลักษณ์ กฟน. อาคารประหยัดพลังงาน“

มีอาคารได้รับพิจารณา จำนวน 22 แห่ง

ทางโครงการฯ ได้เข้าทวนสอบข้อมูลและตรวจวัดค่าเกณฑ์คุณภาพการใช้พลังงาน ณ อาคารจริง และ กฟน.ได้พิจารณาอาคารที่มีดัชนีการใช้พลังงาน MEA Index ตามที่ กฟน. กำหนด ให้ได้รับตราสัญลักษณ์ “กฟน. อาคารประหยัดพลังงาน” ในระดับที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 22 แห่ง แบ่งเป็นประเภทอาคารมหาวิทยาลัย 9 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ,มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยสยาม, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ และ ประเภทอาคารศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า 13 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3, ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์, ศูนย์การค้า เทอร์มินอล 21, ศูนย์การค้า พาราไดซ์ พาร์ค, ศูนย์การค้า แฟชั่นไอส์แลนด์, ศูนย์การค้า เดอะสแควร์, ศูนย์การค้า เดอะมอลล์ 2 รามคำแหง, ศูนย์การค้า เดอะมอลล์ 3 รามคำแหง, ศูนย์การค้า เดอะมอลล์ 7 บางแค, ศูนย์การค้า เดอะมอลล์ 8 บางกะปิ, ศูนย์การค้า ริเวอร์ซิตี้, ศูนย์การค้า สยามดิสคัฟเวอรี่ และศูนย์การค้า อิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง

ผลการตัดสินในระดับที่ 2 “ตราสัญลักษณ์ กฟน. อาคารประหยัดพลังงาน ดีเด่น ดีเด่นพิเศษ และดีเลิศ และเงินรางวัล”

มีอาคารได้รับการพิจารณา จำนวน 10 แห่ง

อาคารที่ได้รับตราสัญลักษณ์ระดับที่ 1 เข้าแข่งขันต่อในระดับที่ 2 เพื่อขอรับตราสัญลักษณ์“กฟน. อาคารประหยัดพลังงาน ดีเด่น ” และรางวัลสุดยอดอาคารประหยัดพลังงานของ กฟน. ปีที่ 3 โดยอาคารดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร เป็นเวลา 8 เดือน และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการเข้าเยี่ยมพบเพื่อพิจารณาตัดสินผลรางวัลในการแข่งขันระดับที่ 2 มีอาคารได้รับตราสัญลักษณ์ ฯ จำนวน 10 แห่ง จาก 16 อาคาร

 

สรุปผลประหยัดของโครงการ

ผลการดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพในอาคารที่เข้าร่วมโครงการในปีที่ 3 มีอาคารจำนวน 13 แห่งที่ดำเนินมาตรการแล้วเสร็จในระยะของการแข่งขัน โดยมีการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังานทั้งในระบบประบอากาศ ระบบแสงสว่าง และมาตรทางด้านพลังงานทดแทน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์กร โดยมีมาตรการที่อาคารดำเนินการรวม 32 มาตรการ มีเงินลงทุนรวมของอาคารรวมทั้งสิ้น 74.07 ล้านบาท มีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยของโครงการ 2.7 ปี มีผลประหยัดพลังงานไฟฟ้ารวมของโครงการทั้งสิ้น 6,242,074 หน่วยต่อปี คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ 27,218,250 บาทต่อปี หรือเทียบเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงได้ 3,627 ตันต่อปี

 
 

สามารถลดพลังงานไฟฟ้าลงได้ 

: 6,242,074 หน่วยต่อปี

คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ 

: 27,218,250 บาทต่อปี

ช่วยโลกลดCo2 

: 3,627 ตันต่อปี