นวัตกรรมอาคารเขียวสุดล้ำ
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานให้อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีความสุขกับการทำงาน ลดผลกระทบที่เกิดจากการใช้อาคาร รวมทั้งเพื่อดูแลและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมีการออกแบบอาคารโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด ตามมาตรฐานอาคารเขียว LEED (Leadership in Energy and Environmental Design)อาทิเช่น- การใช้ประโยชน์จากที่ตั้งอย่างยั่งยืน
ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์โดยสนับสนุนให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟหรือรถไฟฟ้า MRT สนับสนุนการใช้รถจักรยาน โดยจัดเตรียมที่จอดรถและที่อาบน้ำไว้ให้ จัดที่จอดเฉพาะสำหรับรถคาร์พูล (Car Pool) และอีโค่คาร์ (Eco Car) อีกด้วย
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ
ลดการใช้น้ำประปา การติดตั้งก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ หรือมีการนำน้ำ Recycle มาใช้เพื่อชำระล้างโถสุขภัณฑ์ โถปัสสาวะชาย และมีการเก็บกักน้ำฝนมาใช้ในการรดน้ำต้นไม้
- การบริหารจัดการพลังงานและบรรยากาศ
- เลือกใช้ระบบทำความเย็นประสิทธิภาพสูงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเลือกใช้สารทำความเย็นที่มีค่า GWP & ODP ต่ำ (Global Warming Potential & Ozone Depletion Potential) ประเภท Non-Chlorofluorocarbon (Non-CFC)
- การติดตั้งกระจกโดยรอบอาคาร เป็นการนำแสงธรรมชาติมาใช้เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า กระจกที่ใช้เป็น กระจก Low-E * มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนได้อย่างดี
- หรือการใช้ลิฟท์แบบ Hall Call Destination Control **
- การติดตั้ง Solar Cell บริเวณหลังคาอาคารจอดรถเพื่อนำมาเป็นพลังงานไฟฟ้าในอาคาร เป็นต้น
- ใช้วัสดุและทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
- โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมาตรฐานการรับรอง เช่น ฉลากเขียว กระเบื้องเซรามิคปูพื้นผนัง ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลสูง และแผ่นดูดซับเสียงที่ประกอบด้วยวัสดุรีไซเคิล การใช้ผลิตภัณฑ์ลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ที่มีค่า SRI*** สูง
- นอกจากนี้ยังการใช้ไม้จากป่าปลูกเพื่อจะได้ไม่เป็นการทำลายต้นไม้ธรรมชาติ
- รวมไปถึงการเลือกใช้สินค้าจากภายในประเทศเพื่อลดการขนส่งและประหยัดพลังงาน ที่สำคัญคือ การจัดการของเสียจากการก่อสร้าง กำหนดให้มีการแยกประเภทและกองเก็บให้ชัดเจน อาทิ แผ่นกระเบื้องที่รื้อถอนออกมา เฟรมโลหะ แผ่นกระจก หรือแม้แต่การนำหัวเสาเข็มก่อสร้างส่วนเกินที่ตัดแยกออกมาและนำกลับไปรีไซเคิล รวมถึงบริจาคเป็นวัสดุก่อสร้างให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป การควบคุมคุณภาพอากาศในอาคาร
- ติดตั้งพรมดักฝุ่น รวมถึงการติดตั้งระบบกรองอากาศในระดับที่สามารถกรองฝุ่นและเชื้อราออกจากระบบ ช่วยลดปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจของผู้ใช้อาคาร และมีการเลือกใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่มีค่า VOCs**** ต่ำ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้อาคารอีกด้วย
*กระจก LOW-E มาจากคำว่า “Low emissivity” ซึ่งกระจกชนิดนี้มีการเคลือบสารฉนวนกันรังสีความร้อนไว้ด้านในของกระจก รวมกับประสิทธิภาพของช่องว่างอากาศ ทำให้สามารถควบคุมปริมาณความร้อนที่จะเข้าสู่ภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
*กระจก LOW-E มาจากคำว่า “Low emissivity” ซึ่งกระจกชนิดนี้มีการเคลือบสารฉนวนกันรังสีความร้อนไว้ด้านในของกระจก รวมกับประสิทธิภาพของช่องว่างอากาศ ทำให้สามารถควบคุมปริมาณความร้อนที่จะเข้าสู่ภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
**Hall Call Destination Control นวัตกรรมของระบบลิฟต์สำหรับอาคารสูงและอาคารสูงพิเศษ ที่เรียกว่า “ระบบควบคุมลิฟต์แบบโถงเรียกใช้งาน”
***SRI (Solar Reflectance Index) คือ ดัชนีการสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ ซึ่งวัสดุที่มีค่า SRI สูง มีแนวโน้มที่จะเย็นกว่าวัสดุที่มีค่า SRI ต่ำ
****VOCs (Volatile Organic Compounds) คือ ไอระเหยที่เป็นพิษในอากาศที่องค์การอนามัยโลกและสหภาพยุโรปให้ความสำคัญ เนื่องจากมีผลกระทบต่อทางเดินหายใจและก่อมะเร็ง
นอกจากนวัตกรรมอาคาเขียวแล้ว ยังมีนวัตกรรมในด้านอุปกรณ์อื่นที่ใช้กับอาคารช่วยในการประหยัดพลังงาน อาทิ
หน้าต่างอัจฉริยะ
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จีนเผยนวัตกรรมใหม่ สามารถช่วยทั้งประหยัดพลังงานและผลิตพลังงาน ซึ่งอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายการใช้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อนแก่ตึกอาคารต่างๆ ขณะเดียวกัน หน้าต่างอัจฉริยะนี้ ยังช่วยให้ผู้อยู่ในตึกอาคารรู้สึกใกล้ชิดกับโลกภายนอกด้วย โดยหน้าต่างจะปรับบทบาทไปตามสภาพอากาศภายนอก คือ ในช่วยฤดูหนาว จะป้องกันความร้อนออกจากตัวอาคาร ส่วนช่วงฤดูร้อนจะรับรังสีจากแสงอาทิตย์เข้ามา หน้าต่างอัจฉริยะในปัจจุบันมีข้อจำกัดในการปรับหรือควบคุมแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ ปล่อยให้พลังงานแฝงปริมาณมากออกจากตัวอาคาร “นวัตกรรมหลักของงานชิ้นนี้คือ การพัฒนาอุปกรณ์หน้าต่าง เพื่อการประหยัดพลังงาน” กลุ่มวิศวกรได้พยายามนำแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงาน เคลือบหน้าต่างมาเป็นเวลานานโดยที่ไม่ส่งผลต่อความโปร่งใส และในที่สุด ก็ค้นพบ วานาเดียม ออกไซด์ (VO2 ) ที่สามารถใช้เป็นวัสดุเคลือบที่มีความโปร่งใส เพื่อควบคุมรังสีอินฟาเรดจากดวงอาทิตย์ วัสดุ VO2 นี้ จะปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิต่ำถึงระดับหนึ่ง มันจะเป็นฉนวนและปล่อยให้แสงอินฟาเรดเข้ามา และเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปอีกระดับ มันก็จะเป็นตัวสะท้อน หน้าต่าง VO2 นี้ สามารถใช้ควบคุมพลังงานจากแสงอาทิตย์ เข้ามายังตัวอาคาร แต่ก็จะกระจายแสงไปที่แผงโซลาร์เซลล์ ที่ทีมงานได้ติดตั้งไว้รอบ ๆ แผ่นกระจก เพื่อผลิตพลังงานสำหรับจุดหลอดไฟ เป็นต้น “หน้าต่างอัจฉริยะนี้ ได้ประสานรวมการผลิตและประหยัดพลังงานไว้ในอุปกรณ์ชิ้นเดียว ทั้งยังได้ควบคุมและใช้รังสีจากดวงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพ”
ขอบคุณที่มา : นวัตกรรมใหม่ หน้าต่างอัจฉริยะ สามารถช่วยทั้งประหยัดพลังงาน และผลิตพลังงาน !!